วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าวอินเทอร์เน็ต


การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าวอินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์
เข้าสู่ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet) 




ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตหลายคนอาจเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยผ่านทางระบบเครือข่ายของสำนักงาน บริษัท
หรือสถานศึกษาของตน ซึ่งตามปกติแล้วหากเป็นหน่วยงานหรือสำนักงานใหญ่ๆ จะต่อคอมพิวเตอร์เป็นระบบภายใน
องค์กร (LAN) ซึ่งมักจะเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการ (ISP) ผ่านสายนำสัญญาณความเร็วสูง (High-Speed Leased
Line) แทนที่จะเชื่อมต่อผ่านโมเด็ม (Modem) แต่ถ้าหากว่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในวง LAN ที่ไม่โตมากนักก็อาจ
ใช้เชื่อมต่อผ่านโมเด็มก็ได้ เพราะจะทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระบบ แต่อาจจะมีปัญหาในเรื่องความเร็ว
ในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตบ้างเล็กน้อย

การเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ตผ่านทางผู้ให้บริการ 

ผู้ให้บริการเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต เรียกว่า ISP (Internet Service Provider)
หรือที่เรียกกันว่า ไอเอสพี จะเป็นองค์กรที่ทำการติดตั้งและดูแลเครื่องให้บริการ (Server) ที่ต่อตรงเข้ากับระบบ
อินเทอร์เน็ต ซึ่งอนุญาตให้ผู้ที่สมัครเป็นสมาชิกขององค์กรนำระบบของตนเองเข้าไปเชื่อมต่อได้ ดังนั้น ISP ก็เปรียบ
เสมือนช่องทางผ่านเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต ซึ่งหลังจากที่เราเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แล้ว เราก็สามารถเข้า
ไปยัง ส่วนใด ๆ ก็ได้ในระบบอินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่อผ่านทาง ISP ยังแบ่งลักษณะการเชื่อมต่อออกเป็น 2 ประเภทตามความต้องการ
ใช้งานดังนี้

1. การเชื่อมต่อแบบองค์กร
เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย
(Server) ของเครือข่ายนั้นเข้าเชื่อมต่อกับ ISP เพื่อเชื่อมโยง เข้าสู่ระบบ อินเทอร์เน็ตได้เลย


2. การเชื่อมต่อส่วนบุคคล
เป็นการเชื่อมต่อของบุคคลธรรมดาทั่วไปซึ่งสามารถ่ขอเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ตได้โดยใช้
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ อาจจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า
โมเดม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูงมากนัก เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อแบบ Dial-Up
โดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกของ ISP เพื่อขอเชื่อมต่อผ่านทาง SLIP หรือ PPP account

องค์ประกอบของระบบเครือข่าวอินเทอร์เน็ต



ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปผ่านสื่อที่เป็นตัวกลางรับ-ส่งข้อมูลเช่น สายเคเบิล หรือ ดาวเทียม เป็นต้น โดยวัตถุประสงค์ของการเชื่อมโยงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่น การติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน การใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ร่วมกัน การใช้ข้อมูลต่าง ๆ ร่วมกัน เป็นต้น

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วย คอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป โดยแบ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญ คือ

- คอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2 เครื่อง
- เน็ตเวิร์คการ์ด หรือ NIC (Network Interface Card) เป็นการ์ดเสียบเข้ากับช่องสล๊อตบนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
- สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับการรับส่งข้อมูล เช่น สายสัญญาณ ปัจจุบันที่นิยมใช้ได้แก่ สายโคแอ๊กเชียล สายคู่เกลียวบิด และสายใยแก้วนำแสง ส่วนอุปกรณ์เครือข่ายได้แก่ สวิตช์ เกตเวย์ ฮับ เราท์เตอร์
- โปรโตคอล (Protocol) โปรโตคอลเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่สามารถสื่อสารกันได้จำเป็นต้องมีภาษาสื่อกลางที่ทำให้เข้าใจกัน คือ โปรโตคอลเดียวกัน เช่น TCP/IP, IPX/SPX
- ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS (Network Operating System) ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่คอยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้แต่ละคน ควบคุมทรัพยากรต่าง ๆ ของเครือข่าย ระบบปฏิบัติการที่นิยม ได้แก่ Windows Server 2003, Novell NetWare, Sun Solaris, Linux 

ระบบเครือข่าวอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เป็นเครือข่ายใหญ่ และเครือข่ายย่อย จำนวนมากเชื่อมต่อกัน เป็นจำนวนหลายร้อยล้านเครื่อง ซึ่งใช้ในการติดต่อสื่อสารข้อมูลที่เป็นรูปภาพ ข้อความ และเสียง โดยผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีผู้ใช้งานกระจายอยู่ทั่วโลก
อินเทอร์เน็ต มีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุผลทางการทหาร เนื่องจากในยุคสงครามเย็น เมื่อประมาณ พ.ศ.2510 ระหว่างฝ่ายคอมมิวนิสต์ และฝ่ายเสรีประชาธิปไตย ซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา โดยต่างฝ่าย ต่างก็กลัวขีปนาวุธ ของอีกฝ่ายหนึ่ง โดยผู้นำสหรัฐอเมริกา วิตกว่า ถ้าหากทางฝ่ายรัฐเซีย ยิงขีปนาวุธนิวเคลียร์เข้ามา ถล่มจุดยุทธศาสตร์บางจุดของตนเองขึ้นมา อาจจะทำให้คอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันเสียหายได้ จึงได้สั่งให้มีการวิจัย เพื่อสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ชนิดใหม่ขึ้นมา เพื่อป้องกันความเสียหาย โดยมีจุประสงค์ว่า ถ้าคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง ถูกทำลาย แต่เครื่องอื่นก็จะต้องใช้งานต่อไปได้ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลระบบเครือข่าย ในขณะนั้นมีชื่อว่า ARPA (Advanced Research Projects Agency) ดังนั้นชื่อเครือข่ายในขณะนั้น จึงถูกเรียกว่า ARPANET ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 เครือข่ายขยายใหญ่โต เพิ่มมากขึ้น จากการระดม นักวิจัยเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ขึ้นมา เพื่อความเหมาะสม จึงได้มาตรฐาน TCP/IP และนอกจากประโยชน์ด้านงานวิจัย และทางทหารแล้ว ยังได้นำมาใช้ประโยชน์ทางด้านธุรกิจ และการพาณิชย์อีกด้วย ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และนำมาใช้ประโยชน์ ในการติดต่อข้อมูลข่าวสารมากมาย สำหรับในประเทศไทยได้มีการเริ่มต้นติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต เป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อใช้ในการศึกษาของมหาวิทยาลัย โดยติดต่อกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย โดยเชื่อมต่อเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2530 ต่อมากระทวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและพลังงาน ได้มอบหมายให้ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ให้ทุนสนับสนุน แก่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อศึกษา ถึงการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ ของมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์ 12 แห่งเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกันเมื่อ พ.ศ. 2531 หลังจากนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เป็นเกตเวย์อินเทอร์เน็ต ในประเทศไทยและเริ่มให้บริการทางอินเทอร์เน็ต เต็มรูปแบบในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2535 และต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2537 การสื่อสารแห่งประเทศไทย ร่วมลงทุนกับหน่วยงานของรัฐ และเอกชน เปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ 2 รายคือบริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด และบริษัท อินเทอร์เน็ต คอมเมอร์เชียล แอนด์โนว์เลจเซอร์วิส จำกัด ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น KSC คอมเมอร์เชียลอินเทอร์เน็ต จำกัด

มาตรฐานการสื่อสารด้านอินเทอร์เน็ต

โปรโตคอล (Protocol) คือตัวกลาง หรือภาษากลาง ที่ใช้เป็นมาตรฐานสำหรับการสื่อสาร ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารเชื่อมโยงกัน ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ นับร้อยล้านเครื่องซึ่งแต่ละเครื่องมีความแตกต่างกัน ทั้งรุ่นและขนาดของคอมพิวเตอร์ ถ้าขาดโปรโตคอลก็จะไม่สามารถที่จะติดต่อสื่อสาร ให้เข้าใจกันได้ เพราะฉะนั้นโปรโตคอล ก็เปรียบเหมือนเป็นล่ามที่ใช้แปลภาษา ของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มาตรฐานนี้เรียกว่า TCP/IP การทำงานของ TCP/IP จะแบ่งข้อมูลที่จะส่งออกเป็นส่วนย่อย ๆ เรียกว่า แพ็คเก็ต (Packet) แล้วส่งไปตามเส้นทางต่าง ๆ ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจะกระจายแพ็คเก็ตออกไปหลายเส้นทาง แพ็คเก็ตเหล่านี้ จะไปรวมกันที่ปลายทาง และถูกนำมาประกอบรวมกัน เป็นข้อมูลที่สมบูรณ์อีกครั้ง
ระบบไอพีแอดเดรส (IP Address) เมื่อเราต้องการสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น เราจะต้องทราบที่อยู่ของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น คอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP จะมีหมายเลขประจำเครื่องที่ไม่ซ้ำกับเครื่องอื่นในโลก มีชื่อเรียกว่า ไอพีแอดเดรส ไอพีแอดเดรสจะมีลักษณะเป็นตัวเลข 4 ชุดที่มีจุด ( . ) คั่น เช่น 193.167.15.1 เป็นต้น ตัวเลขแต่ละชุด จะมีค่าได้ตั้งแต่ 0-255 คอมพิวเตอร์ ที่มีไอพีแอดเดรสเป็นของ ตัวเองและใช้เป็นที่เก็บเว็บเพจ เราเรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือโฮสต์ (Host) ส่วนองค์กรหรือผู้ควบคุมดูแลและจัดสรรหมายเลขไอพีแอดเดรส เราเรียกว่า อินเทอร์นิก (InterNIC)


โดเมนเนม (Domain Name) 


โดเมนเนม (Domain Name) เป็นระบบที่นำตัวอักษร ที่จำได้ง่ายเข้ามาแทนไอพีแอดเดรส ที่เป็นตัวเลข แต่ละโดเมนจะมีชื่อไม่ซ้ำกัน และมักจะถูกตั้งให้คล้ายกับชื่อของบริษัทหน่วยงาน หรือองค์กรของผู้เป็นเจ้าของ เพื่อความสะดวกในการจดจำชื่อ

ความหมายโดเมนเนม

โดเมนเนม ความหมาย

Com
กลุ่มองค์การค้า (Commercial)

Edu
กลุ่มการศึกษา (Education)

Gov
กลุ่มองค์กรรัฐบาล (Governmental)

Mil
กลุ่มองค์กรทหาร (Military)

Net
กลุ่มองค์การบริหาร (Network Service)

Org
กลุ่มองค์กรอื่น ๆ (Organizations)


ความหมายโดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเทศ

โดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเทศ ความหมาย

au
ออสเตรเลีย (Australia)

fr
ฝรั่งเศส (France)

th
ไทย (Thailand)

jp
ญี่ปุ่น (Japan)

uk
อังกฤษ (United Kingdom)


โดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์
โดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์ (Domain Name Server) ถึงแม้ระบบโดเมนเนม จะทำให้จดจำชื่อได้ง่าย แต่การทำงานจริง ของอินเทอร์เน็ต ก็จำเป็นต้องใช้ไอพีแอดเดรส อย่างเดิม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีระบบ ที่จะทำการแปลงโดเมนเนม ไปเป็นไอพีแอดเดรส โดยจะต้องจัดการให้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ทำหน้าที่ในการแปลงโดเมนเนม ไปเป็นไอพีแอดเดรส เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่นี้ จะถูกเรียกว่าโดเมนเนมเซิร์ฟเวอร์ (Domain Name Server) หรือ ดีเอ็นเซิร์ฟเวอร์ (DNS Server)
ตำแหน่งอ้างอิงเว็บเพจ
เป็นตำแหน่งที่ใช้อ้างอิงเว็บเพจต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ตโดยพิมพ์ URL เข้าไปในช่อง Address ของเว็บเบราเซอร์โดย URL ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้คือ

www.hotmail.com/data.html
www คือ การแสดงว่าขณะนี้กำลังใช้บริการ www
hotmail คือ โดเมนเนมของเว็บไซต์ที่กำลังใช้งานอยู่
data.html คือ ตำแหน่งของไฟล์ที่เก็บเว็บเพจหน้านั้นอยู่

การเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าสู่อินเทอร์เน็ตผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องมีบีประจำเครื่อง (Account Number) ที่ศูนย์บริการ แล้วเชื่อโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครื่องที่ศูนย์บริการ โดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านทางโมเด็ม (Modem) และจะมีซอฟต์แวร์ทำหน้าที่แปลงคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้เป็นเทอร์มินัลของคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์บริการเมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ผู้ใช้จะมี User ID หรือ User name หรือ Login name และ Password ผู้ใช้จะต้องจัดเตรียมและเชื่อมต่ออุปกรณ์ดังนี้
1.เครื่องคอมพิวเตอร์ ไม่จำกัดชนิดและยี่ห้อ ส่วนใหญ่ที่นิยมใช้จะใช้เครื่อง PC
2.โมเด็ม ทำหน้าที่ช่วยให้คอมพิวเตอร์แลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ ความเร็วของโมเด็มเป็นความเร็วในการส่งข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ โมเด็มมีขนาดความเร็วต่าง ๆ กัน โมเด็มมีขนาดความเร็วสูงตั้งแต่ 14.4 Kbps ขึ้นไป ส่วนใหญ่แล้วจะมีความสามารถรับส่ง Fax ได้ด้วย เรียกกว่า Fax Modem โมเด็มที่มีความเร็วสูงจะมีราคาแพงกว่า ความเร็วของโมเด็มวัดเป็นบิดต่อวินาที (bps)
โมเด็มแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.โมเด็มภายใน (internal modem) เป็นการ์ดที่เสียบลงบนสล็อต (slot) ของเมนบอร์ด
2.โมเด็มภายนอก (External nodem) เป็นกล่องขนาดเล็ก มีพอร์ต (port) เพื่อเสียบสัญาณจากคอมพิวเตอร์เข้าโมเด็ม มีช่องสำหรับเสียบสายโทรศัพท์ และมีสายไฟจากโมเด็มเพื่อต่อเข้ากับไฟบ้าน
3. โทรศัพท์ เพื่อเชื่อมต่อสายโทรศัพท์เข้ากับโมเด็ม เพื่อให้สัญญาณข้อมูลส่งผ่านสายโทรศัพท์ ดังนั้นผู้ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ต จะต้องมีโทรศัพท์หนึ่งเลขหมายในการต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต
4.ซอฟต์แวร์ ในการใช้อินเทอร์เน็ตจะมีโปรแกรมที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ประเภทคือ 1.โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อเพื่อจัดการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอินเทอร์เน็ต ถ้าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Window 95 จะมีโปรแกรม dial-Up Networking ที่ใช้ในการสื่อสารอยู่แล้ว
2. โปรแกรมที่ใช้รับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) เช่น Eudora
3. โปรแกรมที่ใช้ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต เรียกกว่า บราวเซอร์ (Browser) เช่น Netscape Navigator, Internet Exploer
5.ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP : Internet Service Provider)
ผู้ใช้จะต้องสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายกับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นศูนย์บริการให้กับสมาชิก ซึ่งมีทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งผู้ให้บริการเหล่านี้จะเชื่อมโยงกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยศูนย์บริการเหล่านี้จะต้องเสียเงินค่าเช่าสายสัญญาณไปต่างประเทศให้กับรัฐ

ข้อมูลข่าวสารบนเว็บไซต์

1. เว็บเพจ(Web Page) คือ ข้อมูลที่แสดงบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นเอกสารที่สามารถเชื่อมโยงไปยังหน้า อื่น ๆ ได้
2. เว็บไซต์ (Web Site) คือ เว็บเพจทั้งหลายที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต และบรรจะไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์หนึ่ง ๆ เช่น เว็บไซต์ www.google.com
3. โฮมเพจ (Home Page) คือ เว็บเพจหลักของเว็บไซต์ ภายในโฮมเพจจะมีจะเชื่อมต่อเปิดเข้าไปชม เว็บเพจอื่น ๆ ที่อยู่ภายในเว็บไซต์นี้ได้
4. โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser) เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่ ในการเปิดเว็บเพจ และสามารถรับส่ง ไฟล์ทางอินเทอร์เน็ต โดยการแปลงภาษา HTML แล้วแสดงผลคำสั่งให้ออกมาเป็นรูปภาพเสียง และข้อมูล ต่าง ๆ ที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันได้แก่ NCSA Mosaic, Netscape Navigator, Internet Explorer และ Opera
โปรแกรมที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ Internet Explorer
5. ภาษาHTML (Hyper TextMarkup Language) เป็นภาษาที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยสามารถใส่จุดเชื่อมโยง (Link) ไปยังเอกสารหน้าอื่น ๆ ซึ่งการเชื่อมโยงนี้ถูกเรียกว่า Hypertextหรือเอกสาร HTML ซึ่งเว็บเพจจะใช้รหัส คำสั่ง สำหรับควบคุมการแสดงผลข้อความ หรือรูปภาพในลักษณะต่าง ๆกันได้ โดยใช้สิ่งที่เรียกว่า แท็ก (Tag) ซึ่งแท็กจะกำหนด ให้เบราเซอร์แปลความหมายของรหัสคำสั่งดังกล่าว เป็นข้อมูลของเว็บเพจและคุณสมบัติ
พื้นฐานต่าง ๆ ด้วยนอกจากนี้ยังได้มีการนำเอาโค้ดภาษาโปรแกรมที่เรียกว่าสคริปต์ (Script) มาช่วยเพิ่ม ความสามารถ และสีสันให้เว็บเพจมากขึ้น
6. WYSIWYG (What-You-See-Is-What-You-Get) โปรแกรมแบบวิสสิวิกนี้ ใช้สร้างเว็บเพจโดยการนำรูปภาพ
หรือข้อความมาวางทับบนเว็บเพจ และเมื่อแสดงผลเว็บเพจ จะปรากฎหน้าเอกสารของเว็บเพจ เหมือนกับขณะที่
ทำการสร้าง การใช้งานจะใช้งานได้ง่ายกว่า การเขียนด้วยภาษา HTMLมาก โปรแกรมที่สามารถตอบสนอง การ
สร้างเว็บเพจแบบ WYSIWYG มีอยู่หลายโปรแกรมให้เลือกใช้เช่น FrontPage, Dreamweaver เป็นต้น


บริการต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต เป็นแหล่งที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจำนวนมาก ที่เราสามารถค้นคว้า และรับส่งข้อมูลไปมา ระหว่างกันได้ อินเทอร์เน็ตจึงมีประโยชน์สำหรับยุคสังคมและข่าวสาร ในปัจจุบันอย่างมาก อินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่ เหมือนห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ ส่งข้อมูลที่เราต้องการมาให้ถึงบ้านหรือที่ทำงาน ภายในไม่กี่นาที จากแหล่งข้อมูลทั่วโลก โดยจัดเป็นบริการในรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้

1. เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web : WWW) คือบริการค้นหาและแสดงข้อมูลแบบมัลติมีเดีย บนอินเทอร์เน็ตทุกประเภท ซึ่งข้อมูลและสารสนเทศอาจจัดอยู่ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ หรือ เสียงก็ได้ ข้อดีของบริการประเภทนี้คือ สามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจหน้าอื่น หรือเว็บไซด์อื่นได้ง่าย เพราะใช้วิธีการของไฮเปอร์เท็กซ์ (Hypertext) โดยมีการทำงานแบบไคลเอนท์/เซิร์ฟเวอร์ (Client/Server) ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูล จากเครื่องที่ให้บริการซึ่งเรียกว่าเว็บเซิร์ฟเวอร์ โดยอาศัยโปรแกรม ที่ใช้ดูข้อมูลเว็บเบราว์เซอร์ (Web Browser) ซึ่งผลที่ได้จะมีการแสดงเป็นไฮเปอร์เท็กซ์ ซึ่งในปัจจุบันมีการผนวกรูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสามารถเชื่อมโยงไปยังเอกสารหรือข้อมูลอื่น ๆ ได้โดยตรงตัวอย่างเช่น www.yahoo.com สามารถค้นหาและเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเรื่องราวต่างๆ เช่น การศึกษาการท่องเที่ยว โรงแรมต่าง ๆ การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ เป็นต้น

2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า “อีเมล์” (E-mail) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสาร ระหว่างกัน และกันบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด สามารถส่งข้อความ ไปยังสมาชิกที่ติดต่อด้วย โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และสามารถแนบไฟล์ข้อมูลไปพร้อมกับจดหมายได้อีกด้วย การส่งจดหมายในลักษณะนี้ จะต้องมีที่อยู่เหมือนกับการส่งจดหมายปกติ แต่ที่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เราเรียกว่า E-mail Address

3. การโอนย้ายข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol) เป็นรูปแบบการติดต่อสื่อสารข้อมูล บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต อีกรูปแบบหนึ่ง ใช้สำหรับการโอนย้ายข้อมูลระหว่างผู้ใช้โปรแกรม FTP กับ FTP Server การโอนย้ายไฟล์จาก FTP Server มายังเครื่องของผู้ใช้ เรียกว่า ดาวน์โหลด (Download) และการโอนย้ายไฟล์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ไปยังไปยัง FTP Server เรียกว่า อัพโหลด

4. การสืบค้นข้อมูล (Search Engine) คือ บริการที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต โดยพิมพ์ข้อความที่ต้องการสืบค้น เข้าไป โปรแกรมจะทำการค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ให้ภายในเวลาไม่กี่นาที โปรแกรมประเภทนี้เราเรียกว่าSearch Engines เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่สามารถจำชื่อเว็บไซด์ บางเว็บได้ ก็สามารถใช้วิธีการสืบค้นข้อมูล ในลักษณะนี้ได้ เว็บไซด์ที่ทำหน้าที่เป็น Search Engines มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น google.com , yahoo.com , sanook.com ฯลฯ เป็นต้น

5. การสนทนากับผู้อื่นบนอินเทอร์เน็ต จะคล้ายกับการใช้โทรศัพท์แต่แตกต่างกันที่ เป็นการสื่อสาร ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะใช้ไมโครโฟน และลำโพงที่ต่ออยู่กับคอมพิวเตอร์ในการสนทนา

6. กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (News Group or Use Net) เป็นบริการกระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และแสดงความคิดเห็นลงไปบริเวณกระดานข่าวได้ มีการแบ่งกลุ่มผู้ใช้ออกเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งแต่ละกลุ่มจะสนใจเรื่องราวที่แตกต่างกันไป เช่นการศึกษา การท่องเที่ยว การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม การเกษตร และอุตสาหกรรม เป็นต้น

7. การสื่อสารด้วยข้อความ IRC (Internet Relay Chat) เป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น โดยการพิมพ์ข้อความโต้ตอบกัน ซึ่งจำนวนผู้ร่วมสนทนาอาจมีหลายคนในเวลาเดียวกัน ทุกคนจะเห็นข้อความ ที่แต่ละคนพิมพ์เหมือนกับว่ากำลังนั่งสนทนาอยู่ในห้องเดียวกัน โปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารได้แก่โปรแกรม mIRC โปรแกรม PIRCH และโปรแกรม Comic Chat นอกจากโปรแกรม IRC แล้ว ในปัจจุบันนี้ภายในเว็บไซต์ ยังเปิดให้บริการห้องสนทนาผ่านทางโปรแกรมเว็บเบราเซอร์ได้อีกด้วย

การใช้อินเทอร์เน็ต


ทุกวันนี้เราอยู่ในยุคอินเทอร์เน็ต พวกเราได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินจากมัน เช่น ได้เล่นเกมออนไลน์ , ได้ chat กับคนแปลกหน้า , ได้ดูรูปโป๊แบบไม่จำกัด ,ได้หาแฟนใหม่ทางเน็ตวันละ 10 คน ฯลฯ

แต่มีผู้ใหญ่หลาย ๆ ท่านเตือนว่า การหมกมุ่นอยู่กับเน็ต ระวังอันตรายร้อยแปด ทั้งเสียการเรียน ทั้งเสียคน บางทีอาจจะถึงกับได้พบอันตรายที่คาดไม่ถึงอีกมากมาย ที่จริง ก็น่าเห็นใจน้อง ๆ นะ ... เพราะเรียนหนังสือเครียดจะตายไป เลิกเรียนแล้ว ก็น่าจะได้มีโอกาสผ่อนคลายความเครียดกันบ้าง คนจะหาความสุขจากเน็ตสักหน่อย ยังมาห้ามอีก อะไรทำนองนั้น

ทีนี้ตามหลักพุทธศาสนาท่านว่า ความสุขมีสองแบบ คือ แบบ เสพบริโภค (กามฉันทะ ) กับ แบบสร้างสรรค์ (ธรรมฉันทะ ) ความสุขแบบเสพบริโภคนั้น เป็นความสุขมีคุณน้อย มีโทษมาก ทำให้หลงเพลิดเพลินไม่เป็นอันทำการงาน มีแนวโน้มทำให้เกิดความรุนแรง เบียดเบียนกัน ร้อนรน กระวน กระวาย ไม่คุ้มค่ากับความสุขเพียงนิด ที่ต้องแลกกับความทุกข์ที่ตามมาเป็นพรวน ๆ

อย่ากระนั้นเลย budpage ขอลองเสนอวิธีหาความสุขอย่างสร้างสรรค์ (ธรรมฉันทะ) จากเน็ตสัก 5 วิธี มาแนะนำกัน แบบว่าให้ได้ทั้งสนุก และ ได้รับสาระไปด้วย ดังต่อไปนี้

1."ชื่นชมความงามธรรมชาติบนเน็ต" เปิดเวบค้นหาภาพธรรมชาติ จำพวก ต้นไม้ ภูเขา วิวสวย ๆ ดวงจันทร์ หรือ ดอกไม้ ฯลฯ พอได้พบภาพที่ถูกใจ ให้คุณมองภาพนั้นด้วยความชื่นชมพร้อมทั้งกล่าวพรรณาความงามออกมา อาจจะเป็นคำพูดดี ๆ หรือ แต่งเป็นกลอน หรือแต่งเป็นเพลง ก็ได้ หากคุณลองทำดูแล้วคุณรู้สึกว่าจิตใจของคุณมีความแช่มชื่นเบิกบาน จนอยากออกไปพบเห็นธรรมชาติจริง ๆ ข้างนอก ละก้อ...แสดงว่าคุณได้ เข้าถึงความงามของธรรมชาติบ้างแล้ว





2. "พรรณาความงามของงานศิลปะ" อันนี้ก็คล้าย ๆ กัน ให้ search ค้นหาภาพงานศิลปะต่างๆ ที่มีอยู่มากมายในอินเทอร์เน็ต คัดเลือกภาพที่ถูกใจสักภาพ แล้วให้คุณ พรรณาความงามของงานศิลปะชิ้นนั้น โดยสมมุติตัวเองว่าเป็นศิลปินกำลังบรรยาย ให้ผู้ชมฟัง พรรณาเข้าไปเถอะ หรือจะใช้วิธีพิมพ์บรรยายลงในคอมพ์ก็ได้ ทำอย่างนี้สักประเดี๋ยวจิตใจของคุณก็จะเกิดความปีติสุข เพราะได้เข้าถึงความงามของศิลปะ

3.มีความสุขกับการเป็น"พหูสูต " "พหูสูต" แปลง่าย ๆ ว่า"ผู้รอบรู้" คือ ไม่ว่าจะพบเห็นอะไร ก็จะมองเห็นเป็นความรู้ไปหมด สามารถ อธิบายทุกสิ่งทุกอย่างได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง

นิสัย"พหูสูต" นี่สามารถสร้างขึ้นมาได้ หากฝึกฝนเป็นประจำ ยิ่งสมัยนี้มีอินเทอร์เน็ตยิ่งง่ายใหญ่ วิธีง่าย ๆ เริ่มต้นด้วย ทุก ๆ วัน ก่อนจะเปิดเน็ตให้ลองเหลียวมองสิ่งต่างๆ รอบตัวคุณ แล้วตั้งคำถามกับตัวเอง "วันนี้เราอยากจะรู้เรื่องเกี่ยวกับอะไร" เมื่อเราได้พบสิ่งที่น่าสนใจแล้ว ก็ให้ค้นในอินเทอร์เน็ตว่าเราได้รับความรู้อะไรจากสิ่งนั้นบ้าง

ยกตัวอย่าง เหลียวไปเหลียวมารอบ ๆ ตัว ก็พบว่าวันนี้ เราอยากจะรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ "ปากกาลูกลื่น"ที่วางอยู่บนโต๊ะ เราก็พิมพ์ คำว่า"ปากกาลูกลื่น" หรือ ball-point pen ลงในเวบไซต์ประเภท search engine ( เช่น google.com ,siamguru.com ฯลฯ) จากนั้นก็ให้คัดเลือกหาอ่านเรื่องราวที่มีความรู้เกี่ยวกับ"ปากกาลูกลื่น" เก็บเกี่ยวสาระให้ได้มากที่สุด จนเราสามารถคุยเรื่องปากกาลูกลื่นได้เป็นชั่วโมง ๆ (แววพหูสูตเริ่มปรากฏ) วันต่อ ๆ มาก็ให้มองหาสิ่งอื่น รอบๆ ตัวเพื่อค้นหาความรู้อีก ลองตั้งเป้าไว้เลยว่า จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับสิ่งของที่มีอยู่ในบ้านให้หมดทุกอย่าง หากใครทำได้ ถือว่าได้เป็นผู้รอบรู้คนหนึ่งในบ้านเลยทีเดียว

4. สารานุกรมภาพ มาสะสม"ภาพความรู้"กันดีกว่า (รับรอง สนุกว่าสะสมรูปโป๊ ) กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ท้าทายมาก เพราะมีคนฉลาดๆเท่านั้นเองที่สามารถทำได้ วิธีการง่าย ๆ ก็คือให้ท่องเว็บไปเรื่อย ๆ ทีนี้เกิดไปเจอภาพอะไรที่เขามีคำอธิบายเกี่ยวกับภาพนั้น ๆ เราก็ลองอ่านดู ถ้าเรื่องราวน่าสนใจ อ่านแล้วเราเข้าใจ ประทับใจ ก็ให้ save ภาพนั้นเก็บไว้ในอัลบั้มภาพในเครื่องคอมพ์ของตนเอง ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนเรามีคลังภาพแห่งความรู้เก็บไว้มากมาย ( ทุกภาพก่อน save เราจะต้องอ่านเนื้อหาคำอธิบายจนเข้าใจภาพนั้นได้ดีก่อน ไม่ใช่ เก็บแต่ภาพแต่ไม่ยอมเก็บความรู้) ยกตัวอย่าง

เปิดเวบไปเห็นภาพ"เหตุการณ์ 14 ตุลา" เราก็อ่านเรื่องราวบรรยายภาพนั้นจนเข้าใจ ว่าได้เกิดอะไรขึ้นในปี พ.ศ. 2516 จากนั้นให้save ภาพนั้นเก็บเอาไว้ หรือ ไปพบภาพ "super nova" (ดาวระเบิด) เราก็อ่านจนเข้าใจเนื้อหาสาระของภาพ แล้วก็เก็บภาพไว้

ทีนี้เวลาได้ภาพเก็บไว้ในอัลบั้มมากพอเพียงแล้ว เวลาว่าง ๆ ให้คุณลองจัดแสดงภาพแบบสไลด์โชว์ บรรยายให้เพื่อนฝูงฟัง รับรองว่าคุณจะกลายเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ สามารถให้ความรู้และความสนุกสนานกับเพื่อน ๆ จนบรรดาเพื่อน ๆ จะต้องทึ่งในตัวคุณเป็นอย่างมากเลยทีเดียว

5. "เก็บคำคม" ในเว็บบอร์ดบนอินเทอร์เน็ตมีคำคม ๆ สำนวนดี ๆ มากมาย อ่าน ๆ แล้ว ให้เลือกสรรคำที่โดนใจ เอามาสะสมไว้ในไดอารี่ของเรา จะได้เก็บไว้อ่านประเทืองปัญญา จริงอยู่ในเว็บบอร์ดส่วนใหญ่อาจจะมีคำพูดที่ไม่เหมาะสมมากมาย เช่น คำหยาบ คำส่อเสียด ด่าว่า กระทบกระเทียบ แต่ในคำพูดเหล่านี้บางครั้งก็มีสาระสอดแทรกอยู่ เราสามารถเลือกสรรสิ่งที่ดีๆ คือ เลือกเฟ้นสิ่งที่ เป็นเนื้อหาสาระออกมา ( คุ้ยหาเพชรจากกองขยะ ) คุณทราบหรือไม่ว่าคำพูดของคนบางคน (แม้แต่คำพูดของคนที่สติไม่ดี ) บางครั้งจะให้แง่คิดดี ๆ ที่ช่วยปรับปรุงชีวิตของเราให้พัฒนาขึ้นมาได้ ลองดูสิ แล้วคุณจะรู้ว่าการสะสมข้อความดี ๆ มีสาระ มีความสนุกสนาน และมีคุณค่า ไม่น้อยกว่าการสะสมพระเครื่อง หรือ ตุ๊กตาโมเดลราคาแพง ๆ เสียอีก 

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

ปัจจุบันอินเทอร์เน็ต มีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเรา หลายๆ ด้าน ทั้งการศึกษา พาณิชย์ ธุรกรรม วรรณกรรม และอื่นๆ ดังนี้
ด้านการศึกษา
- สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆ ที่น่าสนใจ
- ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
- นักศึกษาในมหาวิทยาลัย สามารถใช้อินเทอร์เน็ต ติดต่อกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็น ข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ เป็นต้น

ด้านธุรกิจและการพาณิชย์
- ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
- สามารถซื้อขายสินค้า ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
- ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) หรือโปรแกรมแจกฟรี (Freeware) เป็นต้น

ด้านการบันเทิง
- การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine o­nline รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่นๆ โดยมีภาพประกอบ ที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสาร ตามร้านหนังสือทั่วๆ ไป
- สามารถฟังวิทยุผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
- สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์ตัวอย่างทั้งภาพยนตร์ใหม่ และเก่า มาดูได้

จากเหตุผลดังกล่าว พอจะสรุปได้ว่า อินเทอร์เน็ต มีความสำคัญ ในรูปแบบ ดังนี้

1. ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail=E-mail) เป็นการส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งจะต้องส่งข้อความไปยังที่อยู่ของผู้รับ และแนบไฟล์ไปได้
2. เทลเน็ต (Telnet) การใช้งานคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งที่อยู่ไกล ๆ ได้ด้วยตนเอง เช่น สามารถเรียกข้อมูลจากโรงเรียนมาทำที่บ้านได้
3. การโอนถ่ายข้อมูล (File Transfer Protocol ) ค้นหาและเรียกข้อมูลจากแหล่งต่างๆมาเก็บไว้ในเครื่องของเราได้ ทั้งข้อมูลประเภทตัวหนังสือ รูปภาพและเสียง
4. การสืบค้นข้อมูล (Gopher,Archie,World wide Web) การใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการค้นหาข่าวสารที่มีอยู่มากมาย ใช้สืบค้นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทั่วโลกได้
5. การแลกเปลี่ยนข่าวสารและความคิดเห็น (Usenet) เป็นการบริการแลกเปลี่ยนข่าวสารและแสดงความคิดเห็นที่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลก แสดงความคิดเห็นของตน โดยกลุ่มข่าวหรือนิวกรุ๊ป(Newgroup)แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
6. การสื่อสารด้วยข้อความ (Chat,IRC-Internet Relay chat) เป็นการพูดคุย โดยพิมพ์ข้อความตอบกัน ซึ่งเป็นวิธีการสื่อสารที่ได้รับความนิยมมากอีกวิธีหนึ่ง การสนทนากันผ่านอินเทอร์เน็ตเปรียบเสมือนเรานั่งอยู่ในห้องสนทนาเดียวกัน แม้จะอยู่คนละประเทศหรือคนละซีกโลกก็ตาม
7. การซื้อขายสินค้าและบริการ (E-Commerce = Electronic Commerce) เป็นการซื้อ - สินค้าและบริการ ผ่านอินเทอร์เน็ต
8. การให้ความบันเทิง (Entertain) บนอินเทอร์เน็ตมีบริการด้านความบันเทิงหลายรูปแบบต่างๆ เช่น รายการโทรทัศน์ เกม เพลง รายการวิทยุ เป็นต้น เราสามารถเลือกใช้บริการเพื่อความบันเทิงได้ตลอด 24 ชั่วโมง
โดยสรุปอินเทอร์เน็ต ได้นำมาใช้เป็นเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับงานไอที ทำให้เกิดช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลที่รวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจ และบริหารงานทั้งระดับบุคคลและองค์กร 

ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต

ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต
ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมาก เพราะทำให้วิถีชีวิตเราทันสมัยและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ เนื่องจากอินเทอร์เน็ตจะมีการเสนอข้อมูลข่าวปัจจุบัน และสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ผู้ใช้ทราบเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน สารสนเทศที่เสนอในอินเทอร์เน็ตจะมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อสนองความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ทุกกลุ่ม อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญสำหรับทุกคนเพราะสามารถค้นหาสิ่งที่ตนสนใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปค้นคว้าในห้องสมุด หรือแม้แต่การรับรู้ข่าวสารทั่วโลกก็สามารถอ่านได้ในอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ของหนังสือพิมพ์
ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงมีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันเป็นอย่างมากในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่ในวงการธุรกิจ การศึกษา ต่างก็ได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น

1. ด้านการศึกษา อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญ ดังนี้
1. สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
2. ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
3. นักเรียนนักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ

2. ด้านธุรกิจและการพาณิชย์ อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญดังนี้
1. ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
2. สามารถซื้อขายสินค้า ทำธุรกรรมผ่านระบบเครือข่าย
3. เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์ โฆษณาสินค้า ติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ
4. ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ และสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ เช่น การให้คำแนะนำ สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware) โปรแกรมแจกฟรี (Freeware)

3. ด้านการบันเทิง อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญดังนี้
1. การพักผ่อนหย่อนใจ สันทนาการ เช่น การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า Magazine Online รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่น ๆ โดยมีภาพประกอบที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสารตามร้านหนังสือทั่ว ๆ ไป
2. สามารถฟังวิทยุหรือดูรายการโทรทัศน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
3. สามารถดึงข้อมูล (Download) ภาพยนตร์มาดูได้

ความหมายและความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

ความหมายและประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

ความหมายของอินเทอร์เน็ต (Internet)

อินเทอร์เน็ต ( Internet ) คือ เครือข่ายของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกันโดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมเครือข่าย ภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงด้วยโปรโตคอลเดียวกันคือ TCP/IP (Transmission Control Protocol / Internet Protocol) เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตสามารถสื่อสารระหว่างกันได้ ถือเป็นเครือข่ายที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน

ผังแสดงการเชื่อมต่อ

ความหมายและประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหารของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตาย แม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย หรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทำงานได้ ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูป ของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวิร์กขึ้นมา เรียกว่า ARPAnet ซึ่งย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งก็ประสบความสำเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างมาก

ระบบเครือข่ายแบบเดิม
ระบบเครือข่ายแบบใหม่ที่ติดต่อกันได้อย่างอิสระ

การเชื่อมต่อในภาพแรกแบบเดิม ถ้าระบบเครือข่ายถูกตัดขาด ระบบก็จะเสียหายและทำให้การเชื่อมต่อขาดออกจากกัน แต่ในเครือข่ายแบบใหม่ แม้ว่าระบบเครือข่ายหนึ่งถูกตัดขาด เครือข่ายก็ยังดำเนินไปได้ไม่เสียหาย เพราะโดยตัวระบบก็หาช่องทางอื่นเชื่อมโยงกันจนได้
เมื่อ ARPAnet ประสบความสำเร็จ ก็ได้มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น ซึ่งจะเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail ) ระหว่างกันเป็นหลัก ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสารและส่งข่าวสารความรู้ทั่วไป แต่ก็ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลัก ในปี พ.ศ. 2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนำอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการทำธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต บริษัท ห้างร้านต่างๆ เข้ามาร่วมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น สำหรับการการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมงเกิดขึ้นครั้งแรกในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อม เข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท

ความหมายและประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต 
ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต

ยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกาในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบ ออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ ไทยเน็ต” (THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ (Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรก ของประเทศไทย ( ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อม โยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)



ปี พ.ศ. 2535 เช่นกัน เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า " เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยการดูแลของเนคเทค และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า "ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยเริ่มแรกประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ

ในปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น ซึ่งมีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ต ขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป

สิ่งที่จำเป็นต้องรู้บนอินเทอร์เน็ต

ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต

ประกอบด้วยชื่อของผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ (user) และชื่อของอินเทอร์เน็ต (Internet Name) ซึ่งจะมีรูปแบบดังนี้ ผู้ใช้@ ชื่อของอินเทอร์เน็ต เช่น Rattanachai@comnet3.ksc.net.th ซึ่งหมายถึงผู้ใช้ชื่อ Rattanachai เป็นสมาชิกของศูนย์คอมที่ชื่อว่า comnet3 ที่มีชื่ออินเทอร์เน็ตว่า ksc.net.th เป็นต้น

หมายเลขประจำตัวเครื่อง ( IP Address)

ในการกำหนดที่อยู่หรือแอดเดรสของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตนั้นจะนำไประบุไว้ในส่วนของ IP เมื่อต้องการส่งข้อมูลเราก็จะเรียกตัวเลขระบุตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้นี้ว่า IP Address ซึ่งจะประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุดด้วยกัน โดยแต่ละชุดจะมีรหัสที่ไม่ซ้ำกันแ ละจะคั่นด้วยเครื่องหมายจุด (.) เช่น 192.150.251.31 หรือ 158.108.2.71 เป็นต้น

ระบบชื่อของเครื่อง

ชื่ออินเทอร์เน็ต (DNS: Domain Name System) คือ ชื่อที่ใช้อ้างถึงคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต ทั้งนี้เนื่องจาก IP Address นั้นจำยาก ดังนั้นเราจึงนำ DNS มาใช้แปลงตัวเลข IP Address ที่คอมพิวเตอร์เข้าใจให้กลายมาเป็นชื่อที่เราอ่านแล้วเข้าใจง่ายขึ้น เช่น nwg.nectec.or.th, comnet3.ksc.net.th เป็นต้น

ความหมายของโดเมน

com หมายถึง ใช้ธุรกิจ, บริษัท, ห้างร้าน (commercial)
net หมายถึง เป็นกลุ่มที่ให้บริการด้านเครือข่าย (network services)
edu หมายถึง ใช้ในสถาบันการศึกษา (education)
gov หมายถึง ใช้ในหน่วยงานรัฐบาล (government)

ตัวอย่างโดเมนที่เป็นชื่อย่อของประเทศ

au หมายถึง ออสเตรเลีย (Australia)
hk หมายถึง ฮ่องกง (Hong Kong)
jp หมายถึง ญี่ปุ่น (Japan)
fr หมายถึง ฝรั่งเศส (France)
uk หมายถึง อังกฤษ (United Kingdom)
th หมายถึง ไทย (Thailand)
ca หมายถึง แคนนาดา (Canada)

ความหมายของซับโดเมน

co หมายถึง องค์กรธุรกิจ (Commercial) เช่น ksc.co.th เป็นต้น
ac หมายถึง สถาบันการศึกษา (Academic) เช่น ku.ac.th เป็นต้น
go หมายถึง หน่วยราชการ (Government) เช่น mua.go.th เป็นต้น
or หมายถึง องค์กรอื่น ๆ (Organization) เช่น nectec.or.th เป็นต้น
net หมายถึง องค์กรที่ให้บริการระบบเครือข่าย (Network)
เช่น asiaaccess.net.th เป็นต้น